ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อกของ นางสาวอารีย์รัตน์ แซ่แต้ สาขาวิชา:คณิตศาสตร์ หมู่ที่2 ในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ( PC 9203 )

สวัสดีค่ะผู้เข้ามาเยี่ยมชม... ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของนางสาวอารีย์รัตน์ แซ่แต้ คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่2 บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ค่ะ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงค่ะ...


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา


........ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบ ซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพวิเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่าง เหมาะสมได้

                   

วัตถุประสงค์ในรายวิชา


.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
       1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
       2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
       3. ยกตัวอย่างเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
       4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
       5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
        6. บอกความหมายและองค์ประสกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
        7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้

       8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
       9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
       10. บอกความสัมพันธ์ของเครือขายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
       11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้

      12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้ 

      13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
      14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
       15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้

                  
 
เนื้อหาบทเรียน
     หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
     หน่วยการเรียนที่ 2  ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     หน่วยการเรียนที่ 3  คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
     หน่วยการเรียนที่ 4  ซอฟต์แวร์

     หน่วยการเรียนที่ 5  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     หน่วยการเรียนที่ 6  อินเตอร์เน็ต
     หน่วยการเรียนที่ 7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 8  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน

                                       

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน


  • วิธีสอน :  เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
  • เนื้อหาบทเรียน :  เนื้อหาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
  • เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ :  ความซื่อสัตย์(integrity)
                         
กิจกรรมการเรียนการสอน

  • การบรรยายประกอบสื่อในชั้นเรียนปกติ (traditional classroom)
  • การศึกษาค้นคว้าด้วยสื่อออนไลน์หรือเว็บบล็อก
  • การสรุปและนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อ ICT
  • การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
  • การสรุปเป็นรายงาน
  • การทดสอบเพื่อวัดและประเมินผล

   

บูรณาการกับความพอเพียง


     การจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง         
            การจัดการศึกษาตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถดำเนินการได้ใน 2 ส่วน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และส่วนที่เป็นการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งส่วนที่ 2 นี้ ประกอบด้วย การสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียง ในหลักสูตรและสาระเรียนรู้ในห้องเรียนและประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
           การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในระยะแรก ได้เริ่มจากการไปค้นหากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ และการจัดการที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือพอประมาณกับศักยภาพของนักเรียน พอประมาณกับภูมิสังคมของโรงเรียนและชุมชนที่ตั้ง เช่น เด็กช่วงชั้นที่ 2 ทำสหกรณ์ได้ เด็กช่วงชั้นที่ 4 ดูแลสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมไทย กล่าวคือ สอนให้ผู้เรียน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม พัฒนาคนให้เขารู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคมและช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และตัวกิจกรรมเองก็ต้องยั่งยืน โดยมีภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ถึงจะเปลี่ยนผู้อำนวยการแต่กิจกรรมก็ยังดำเนินอยู่อย่างนี้เรียกว่ามีภูมิ คุ้มกัน              

            การค้นหาตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ก็เพื่อให้มีตัวอย่างรูปธรรม ในการสร้างความเข้าใจภายในวงการศึกษาว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงหมายความว่า อย่างไร และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้น ก็ส่งเสริมให้บูรณาการการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้     เข้าไปในการเรียนรู้สาระต่างๆ บูรณาการเข้ากับทุกสาระเรียนรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดสมดุลทางสิ่งแวดล้อม บูรณาการเข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนการคำนวณที่มีความหมายในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง หรือบูรณาการ เข้ากับสาระภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา พลศึกษา การงานอาชีพ เทคโนโลยีต่างๆ ได้หมด นอก เหนือจากการสอนในสาระหลักคือในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรมเท่านั้น            สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ให้ทุกช่วงชั้นเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ ใช้ได้ แต่ถ้ามาตรฐานเรียนรู้ของทุกช่วงชั้นเหมือนกันหมดก็จะมีปัญหาทางปฏิบัติ จึงต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนในการเรียนการสอนของแต่ละช่วงชั้นและแต่ละชั้น ปีดังนี้                                                       ช่วงชั้นที่ 1  เน้นให้เด็กพึ่งตนเองได้ หรือใช้ชีวิตพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เช่น ประถม 1 ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ล้างจานชาม เก็บขยะไปทิ้ง กวาดบ้าน จัดหนังสือไปเรียนเอง แบ่งปันสิ่งของให้เพื่อน กินอาหารให้หมดจาน  ประถม 2 วิเคราะห์รายจ่ายของครอบครัว จะมีเป็นตารางกรอกค่าใช้จ่ายต่างๆ ของครอบครัว คุณแม่ซื้ออะไรบ้าง คุณพ่อซื้ออะไรบ้าง เด็กจะได้รู้พ่อแม่หาเงินมายากแค่ไหน เช่น ยาสีฟันหลอดละ 46 บาท จะต้องไม่เอามาบีบเล่น จะต้องสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งของ ให้เด็กตระหนักถึงคุณค่าของเงินทอง จะได้ฝึกนิสัยประหยัด ครอบครัวมีรายได้และรายจ่ายเท่าไร เด็กจะได้ฝึกจิตสำนึกและนิสัยพอเพียง มีหลายโรงเรียนทำแล้ว ประถม 3 สอนให้รู้จักช่วยเหลือครอบครัวอย่างพอเพียงและรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้ อื่นมีส่วนร่วมสร้างครอบครัวพอเพียง                                    
                     ช่วงชั้นที่ 2  ฝึกให้เด็กรู้จักประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์วางแผนและจัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายของตนเองและครอบครัว อย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมในการสร้างความพอเพียงระดับโรงเรียน และชุมชนใกล้ตัว โดยเริ่มจากการสำรวจทรัพยากรต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ มาเป็นข้อมูลในการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนและเห็นคุณค่าของการใช้ชีวิต อย่างพอเพียง                                  
                     ช่วงชั้นที่ 3  ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน สามารถสำรวจและวิเคราะห์ความพอเพียงในระดับต่างๆ และในมิติต่างๆ ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมในชุมชนใกล้ตัว เห็นคุณค่าของการใช้หลักพอเพียงในการจัดการชุมชน และในที่สุดแล้วสามารถนำหลักการพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของแต่ ละคน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความพอเพียงได้ในที่สุด    
                      ช่วงชั้นที่ 4  เตรียมคนให้เป็นคนที่ดีต่อประเทศชาติสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้     ต้องเริ่มเข้าใจความพอเพียงระดับประเทศ และการพัฒนาประเทศภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เช่น  การวิเคราะห์สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ หรือการศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมสภาพปัญหาด้านสังคมเป็นอย่างไรแตกแยกหรือสามัคคีเป็นต้น               
          ขณะนี้คณะทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาและเยาวชน ทำงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และอีกหลายหน่วยงาน วิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน คือ สานเครือข่าย ขยายความรู้ ควบคู่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และให้บุคลากรด้านการศึกษา สามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการ สู่การเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ตลอดจนผู้บริหารสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์และความสุข

                           
ความซื่อสัตย์
          
            เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่า ในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือ องค์กร
         การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาค เรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียน รู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้

    ระดับความซื่อสัตย์

            1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก

                    .ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากจวามจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความาเข้าใจผิด
                    . หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
                    . ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
                    . ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
              2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
                    . ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
                    . ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
                    . ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
              3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
                    . รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
                    . ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
                    . ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
                    . ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
             4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
                   . ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
                   . ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
                   . ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
                   . ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
            5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
                   . แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                   . ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
                   . นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด



...ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์...

            1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม

            2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

            3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม

            4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

            5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากกความหวาดระแวง

            6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

            7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น

            8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น

            9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา

           10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม

           11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม

           12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้